วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนที่ 4 การสื่อความหมาย
1. คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือ ร่วมกัน
2. การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้ส่ง” ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้รับ”

3.

4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5. Elments หมายถึง องค์ประกอบย่อยๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมีตัวอย่าง เช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เป็นต้น
6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อยๆ มารวมกันตัวอย่าง เช่น คำ ประโยค หรือสีสันของรูปร่าง รูปทรง ฯลฯ
7. Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิดความต้องการของผู้ส่งตัวอย่าง เช่น จะทำอย่างไรให้ผู้รับสารเข้าใจเกี่ยวกับสารให้มากที่สุด
8. Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัส และเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่จะสามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่าง เช่น แชมพูที่มี Treatment เพื่อไว้บำรุงผม แต่ในที่นี้หมายถึงรูปแบบของการสื่อความหมาย (Style)
9. Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ ตัวอย่าง เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กิริยาท่าทาง ฯลฯ
10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด ฝนสาด ฯลฯ
11. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล ฯลฯ
12. Encode หมายถึง ผู้ส่งสารขาดความสามารถในการเข้ารหัส หรือแปลความต้องการของตนเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่างๆ ได้
13. Decode หมายถึง ผู้รับสารขาดความสามารถในการถอดรหัสสาร อันเนื่องมาจากสาเหตุดังนี้ 1. อุปสรรคด้านภาษา (Verbalism)2. ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)3. ขีดจำกัดของประสาทสัมผัส (Limited Perception)4. สภาพร่างกายไม่พร้อม (Physical Discomfort)5. การไม่ยอมรับ6. จินตภาพ (Image) ไม่ตรงกันกับผู้ส่งสาร
14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้



15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอนมักจะประสบความล้มเหลวบ่อยๆ เนื่องจากอุปสรรคหลายประการดังนี้
1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน
2. ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงมักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมแก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน
4. ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมายของคำ และเนื้อหาโดยรวม
5. ครูผู้สอนมักนำเสนอเนื้อหากวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมาทำให้เข้าใจยาก
6. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอนหรือเลือกใช้สื่อการสอนไม่เหมาะสมกับเนื้อหา และระดับของผู้เรียนดังนั้นในกระบวนการเรียนการสอนจึงควรคำนึงถึงอุปสรรคต่างๆ และพยายามขจัดให้หมดไป เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นวัตกรรมการการพัฒนาพันธุ์ข้าว เสนออาจารย์มงคล ภวังคนันท์

1. โครงการตามพระราชดำริ การปลูกข้าว

น่าปลาบปลื้มอย่างยิ่ง ทรงขับรถไถนาเพื่อเตรียมแปลงปลูกข้าวทรงหว่านข้าว รวมถึงทรงเกี่ยวข้าวด้วยพระองค์เองครั้งหนึ่งมีผู้กราบทูลถามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเสวยอะไร พระองค์ท่านรับสั่งคำเดียวสั้นๆ ว่า ‘ข้าว’
เมื่อปี พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นพิธีราชมงคลจรดพระนางคัลแรกนาขวัญขึ้นใหม่ ซึ่งสะท้อนให้ถึงความใส่พระทัยในเกษตรกรผู้เป็นกระดูกสันหลังของชาติ หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2504 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งในพระราชวังจิตรลดาจัดทำเป็นนาข้าวทดลองขึ้น โดยมีกรมการข้าว (ปัจจุบันคือกรมวิชาการเกษตร) เป็นผู้รับผิดชอบแปลงนาดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ตารางเมตร และสิ่งที่น่าปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่งก็คือ ทรงขับรถไถนาเพื่อเตรียมแปลงปลูกข้าวทรงหว่านข้าว รวมถึงทรงเกี่ยวข้าวด้วยพระองค์เอง ข้าวที่ได้จากแปลงนาทดลองดังกล่าวทรงเป็นพันธุ์ข้าวพระราชทาน สำหรับแจกจ่ายให้กับชาวนาในพระราชพิธีพืชมงคลปีต่อๆ ไปด้วยตลอดระยะเวลา 60 ปีของการครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนการส่งเสริมพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากแต่ละภูมิภาค แต่ละท้องถิ่นต่างก็มีปัญหาแตกต่างกัน เช่น ภาคอีสานมีปัญหาฝนแร้งและดินเค็ม บางจังหวัดในภาคใต้มีปัญหาดินเปรี้ยว ทำให้ได้ผลผลิตต่อไรต่ำ จึงทรงโปรดฯ ให้ค้นคว้าพัฒนาพันธุ์ข้าวตลอดจนวิธีการเพาะปลูกที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพท้องถิ่นขึ้นโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาในเรื่องข้าว อันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย นอกจากการพัฒนาค้นคว้าพันธุ์ข้าวแล้ว ยังทรงคำนึงถึงการแก้ปัญหาอย่างครบวงจร นำไปสู่การพัฒนาแหล่งน้ำ พัฒนาดิน โครงการธนาคารข้าว ธนาคารโค-กระบือ ฯลฯ ความสำเร็จของแต่ละโครงการคือ ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรไทย เช่น ครั้งหนึ่งทรงเสด็จพระราชดำเนินยังพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีปัญหาเรื่องดินเปรี้ยว ชาวนาปลูกข้าวได้เพียง 10-14 ถังต่อปี จึงทรงพระราชทานแนวทางในการแก้ไขโดยให้นำจืดมาล้างดินเปรี้ยว ปีต่อๆ มาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรอีกครั้ง ชาวบ้านที่รอเฝ้าฯ กราบบังทูลว่าตอนนี้ผลิตข้าวได้ปีละ 50-60 ถังต่อไรด้วยความสำเร็จในการพัฒนาด้านการเกษตร สถาบันระดับโลกต่างๆ จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเพื่อสดุดีพระเกียรติ ดังต่อไปนี้
วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2538 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (The Food and Agricultural Organization) ‘FAO’ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญแอกริโคลา (Agricola) คำว่า ‘แอกริโคลา’ เป็นศัพท์ภาษาละติน หมายถึง ‘เกษตรกร’ เหรียญนี้เป็นประจักษ์พยานที่แสดงให้เห็นถึงพระวิริยะอุตสาหะในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงงานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรไทยตลอดมา วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2538 สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (The International Rice Research Institute) ‘IRRI’ ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยข้าวที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี โดยที่สถาบันแห่งนี้ยังไม่เคยมอบเหรียญให้พระมหากษัตริย์หรือประมุขประเทศใดมาก่อน


2.โครงการพัฒนาแหล่งน้ำสองฝั่งลำน้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดขอนแก่น
เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริ ณ จังหวัดขอนแก่น สรุปความว่า ลำน้ำชีในฤดูน้ำหลาก น้ำท่วมพื้นที่สองฝั่งซึ่งเป็นห้วย หนอง บึงและพื้นที่สาธารณะมาก เมื่อถึงเวลาน้ำลด น้ำที่ท่วมพื้นที่ดังกล่าวก็ลดตามไปด้วย ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำตามเดิม ให้พิจารณาหาวิธีเก็บกักน้ำให้อยู่ในพื้นที่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติม ณ จังหวัดขอนแก่น ให้สำรวจพื้นที่อ่างรอบๆจังหวัดขอนแก่น เพื่อพิจารณาขุดลอก อ่างเก็บน้ำเสริมคัน
ดินกั้นน้ำให้สูง เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำในฤดูฝนได้มากซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำนาปรังได้ รวมทั้งช่วยป้องกันน้ำท่วมตัวเมืองขอนแก่นในฤดูที่มีฝนตกหนัก นอกจากนั้นสามารถจะนำน้ำมาใช้ในโครงการเกษตรน้ำฝนตามแนวทฤษฎีใหม่ได้

สำนักงาน กปร. ร่วมกับกรมชลประทานและกองทัพภาคที่ ๒ ได้สำรวจสภาพพื้นที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และวางแผนการพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณสองฝั่งลำน้ำชีในเขตจังหวัดขอนแก่น จำนวน ๓๔ แห่ง ลักษณะการดำเนินงานเป็นการขุดลอก หนองน้ำเดิมและก่อสร้างอาคารรับน้ำเข้าหนอง และการยกระดับน้ำโดยการสร้างฝายเพื่อทดน้ำให้สูงขึ้นเป็นการเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำให้มากขึ้น ทั้งนี้ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ๒๙ แห่ง สามารถเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำลำชีได้ทั้งสิ้น ๔๑,๓๕๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์ทั้งหมด ๒๘,๒๗๓ ไร่ นอกจากนี้ กรมชลประทานมีแผนงานที่จะดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำอีก ๕ แห่ง ซึ่งจะสามารถเพิ่มปริมาณการ เก็บกักน้ำได้ ๑,๗๔๕,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์ จำนวน ๓,๐๕๙ ไร่
ตัวอย่างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำสองฝั่งลำน้ำชี
ราษฎรสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง
(หนองเบ็น ตำบลหนองแปน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น)
ในการดำเนินงานตามโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ ๒ ประการ คือ
๑. เป็นแก้มลิงป้องกันน้ำท่วมตัวเมืองขอนแก่นในฤดูฝน
๒. เก็บกักน้ำในฤดูฝนสำหรับเป็นแหล่งน้ำต้นทุนนำมาใช้ประโยชน์ ในด้านการเกษตรและการอุปโภค-บริโภคในฤดูแล้ง
ทั้งนี้ สำนักงาน กปร. ได้ประสานจังหวัดขอนแก่นและกรมวิชาการเกษตรส่งเสริมสนับสนุนการนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร เพื่อให้การสนองพระราชดำริในด้านการพัฒนาแหล่งน้ำทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อราษฎรอย่างต่อเนื่อง คือ สามารถเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตร รายได้และทำให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
โดยส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักใช้วัสดุในท้องถิ่น ทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยคอก และการปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อการปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มมูลค่าผลผลิต โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ปลอดภัยและเกื้อกูลสิ่งแวดล้อม


3. โครงการตามพระราชดำริ ด้านการส่งเสริมอาชีพ

สำหรับการส่งเสริมอาชีพนั้น หากเป็นโดยทางอ้อมแล้วโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริส่วนใหญ่ เมื่อได้ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแล้วจะทำให้เกิดการส่งเสริมอาชีพแก่ราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทั้งหลายนั้น จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการจัดตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะให้มีการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย เพื่อแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาด้านต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและการประกอบอาชีพของราษฎรที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนั้นๆ เพื่อให้ราษฎรสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างจริงจัง
ส่วนโครงการประเภทการส่งเสริมอาชีพโดยตรงนั้นมีจำนวนไม่น้อย ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ ดังเช่น โครงการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรในหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ โครงการศิลปาชีพพิเศษทั่วประเทศ โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก โครงการศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ จังหวัดเชียงใหม่ และโครงการอื่นๆ อีกมาก ซึ่งโครงการเหล่านี้ผลสุดท้ายของโครงการคือประชาชนที่อยู่ในเป้าหมายโครงการสามารถที่จะนำความรู้ไปประกอบอาชีพจนทำให้เกิดรายได้กับครอบครัว อาท
ศิลปาชีพพิเศษ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงตระหนักถึงคุณค่าของศิลปะประจำชาติยิ่งนัก จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปะให้คงอยู่ โดยทรงให้จัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๙ เพื่อช่วยเหลือชาวนาชาวไร่ที่มีรายได้น้อยเพราะต้องเผชิญอุปสรรคในการเพาะปลูกอันเนื่องมาจากสภาพดิน ฟ้า อากาศ ที่แปรปรวนอยู่เสมอทำให้รายได้จากผลผลิตมีไม่เพียงพอเลี้ยงครอบครัว
ในขณะเดียวกัน ศิลปะหัตถกรรมของไทยซึ่งเคยได้ชื่อว่าเจริญรุ่งเรืองมาแต่โบราณกาลกำลังเสื่อมสูญไปเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน

โครงการศิลปาชีพได้จัดตั้งขึ้นตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ ปัจจุบันมีมากกว่า ๑๕๐ แห่ง เพื่อให้ราษฎรมีอาชีพหัตถกรรมเป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้ โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ ดังเมื่อครั้งอดีต พระองค์ทรงเน้นการนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ทางหัตถกรรมเป็นหลัก และจากการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรทั่วประเทศ ทรงคัดเลือกสมาชิกศิลปาชีพจากครอบครัวราษฎรที่ยากจน ไร้ที่ทำกินและมีบุตรมากจากทั่วทุกภาคของไทยเข้ามารับการฝึกศิลปหัตถกรรมในศูนย์ศิลปาชีพต่างๆ เช่น ที่โรงฝึกศิลปาชีพสวนจิตรลดา อันเป็นโรงฝึกศิลปาชีพที่ใหญ่ที่สุดที่ดำเนินการสอนงานด้านศิลปะในแขนงต่างๆ เช่น เครื่องถม เครื่องเงิน แผนกทอผ้า ฯลฯ นอกจากนี้ ยังทรงเป็นผู้นำในการใช้ผลิตภัณฑ์ อาทิ ผ้าไหม เครื่องจักรสาน ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ดังจะเห็นได้จากชุดฉลองพระองค์ที่ทรงสวมใส่ในโอกาสต่างๆ อีกด้วย

นวัตกรรมทางโทรทัศน์ เสนออาจารย์ชวน ภารังกูล

โชว์ความสำเร็จด้วยทีวีฝังเพชรเครื่องแรกเครื่องเดียวของโลก สัญลักษณ์แห่งความสำเร็จการสร้างยอดผลิต Philips Ambilight TV ครบ 1 ล้านเครื่อง ให้คนไทยชื่นชม ก่อนเดินทางไปโชว์ตัวรอบโลกบริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ฝ่ายคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ โดยคุณสมชัย ถาวรรุ่งโรจน์ ผู้จัดการทั่วไป ประกาศความเป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์แห่งความบันเทิง ภายใต้แนวคิด Best Entertainment Solution ภายในงานแถลงข่าว ณ โรงแรมแชงกรีล่า โดยฟิลิปส์ชูสุดยอดเทคโนโลยีด้านภาพ Perfect Pixel HD Engine และเทคโนโลยีด้านเสียงขั้นสูง Ambisound พร้อมนำทัพผลิตภัณฑ์คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์อีกกว่า 60 รุ่น ตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคทุกกลุ่ม รุกตลาดในครึ่งปีหลังปี 2550 พร้อมโชว์ทีวีฝังเพชรฟิลิปส์ สัญลักษณ์แห่งความสำเร็จการสร้างยอดผลิต Philips Ambilight TV ครบ 1 ล้านเครื่องคุณสมชัย กล่าวว่า “ฟิลิปส์ ต้องการเป็น Best Entertainment Solution provider ให้กับผู้บริโภคไทยเมื่อต้องการเลือกสรรผลิตภัณฑ์ทั้งในหมวดภาพและเสียงเป็นแบรนด์แรก ดังนั้นฟิลิปส์ในฐานะที่เป็นผู้นำด้านการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภค วันนี้จึงได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เข้ามายกระดับประสบการณ์ด้านความบันเทิงของผู้บริโภคด้วยการออกแบบมาเพื่อสนองความต้องการ (Design Around You) ใช้งานง่าย (Easy to Experience) และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย (Advance) ที่สามารถเข้ามาปลดปล่อยผู้บริโภคให้เป็นอิสระจากข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่เคยมีอย่างไม่มีใครเทียบได้ ทำให้ได้รับประสบการณ์ด้านความบันเทิงที่ลึกล้ำมากยิ่งขึ้น ฟิลิปส์เชื่อมั่นว่าสิ่งที่นำเสนอจะทำให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตประจำวันได้ง่ายมากยิ่งขึ้นตรงกับคำมั่นสัญญาแบรนด์ “sense and simplicity”” ฟิลิปส์นำผลิตภัณฑ์ในหมวดภาพและเสียงกว่า 60 รุ่น รุกตลาดในครึ่งปีหลัง 2550 และคาดว่าจะได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค โดยในกลุ่ม LCD TV ฟิลิปส์เน้นที่เทคโนโลยี Perfect Pixel HD Engine ที่มาพร้อมกับ LED Ambilight ในแอลซีดี ทีวีขนาด 42 นิ้วและ 47 นิ้ว ในขณะที่สินค้าในกลุ่มโฮมเธียเตอร์ ฟิลิปส์เน้นที่เทคโนโลยีใหม่ Ambisound และสำหรับในกลุ่ม DVD Hi-Fi, DVD Micro Theatre และ DVD Mini Hi-Fi ฟิลิปส์เน้นที่เครื่องเสียงระดับไฮเอนด์ ที่ให้เสียงสมจริงดั่งธรรมชาติ นอกจากนี้ฟิลิปส์ยังดำเนินการทางการตลาดอย่างต่อเนื่องในสินค้าประเภทเครื่องเล่นดีวีดี เครื่องบันทึกดีวีดี เครื่องเล่น MP3 และ Docking Entertainmenในหมวดภาพ ฟิลิปส์นำเสนอสินค้าภายใต้แนวคิด “The Art of Perfect Picture” เทคโนโลยีใหม่ที่ฟิลิปส์นำเสนอในหมวดภาพคือ Perfect Pixel HD Engine ในแอลซีดีทีวีรุ่นใหม่ ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นกับแอลซีดี ทีวีให้หมดไป

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ชื่อ นางสาวชิสา แสนมหาเกษม

เกิดวันที่ 24 พฤศจิกายน 2593

บ้านเลขที่ 38 หมู่ 1 ต.หินกลอง อ.เมือง จ.ราชบุรี โทร 032 373212 081 8585778

อาชีพ รับราชการ (ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมือง)

จบการศึกษา ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ปัจจุบัน กำลังศึกษา ป.บัณฑิต วิชาชีพครู รุ่นที่ 10

คติ ถ้าเราไม่รักเขา จะรู้ได้อย่างไรว่าเขารักเรา